หัวข้อ   “ เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 2558 จะฝืดหรือฟื้น
นักเศรษฐศาสตร์ 56.7% ชี้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น
แต่ 51.7% เชื่อสถานะทางการเงินของเกษตรกรจะยังไม่ดีเหมือนเดิม
เสนอรัฐบาล เร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
เปิดเผยผลสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 25 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง
“เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 2558 จะฝืดหรือฟื้น” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3 – 15 มิถุนายน
ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม
ที่ผ่านมาที่ติดลบ 1.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน
เป็นเดือนที่ 5 นั้น ไม่ใช่เป็นการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ขณะที่ร้อยละ 21.7 เห็นว่าเป็นภาวะเงินฝืด
เมื่อถามถึง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะช่วยสนับสนุนให้ภาคส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง
สามารถขยายตัวเป็นบวกได้หรือไม่ ร้อยละ 56.7 เห็นว่าช่วยได้ ขณะที่ร้อยละ 35.0 เห็นว่า
จะไม่ช่วยและคาดว่าการส่งออกยังคงคิดลบเหมือนเดิม
 
                 นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 51.7 เห็นว่าสถานะทางการเงินของเกษตรกร
ในช่วงครึ่งปีหลังจะยังไม่ดีเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 33.3 เห็นว่าจะดีขึ้น และร้อยละ 8.3
เห็นว่าจะแย่ลง
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “เศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 สถานการณ์น่าจะเปลี่ยนแปลง
ไปในทิศทางใด” ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.7 เห็นว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น ร้อยละ 33.3 เห็นว่าเศรษฐกิจ
จะยังคงฝืดเคือง
 
                 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้เสนอประเด็นทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ เพื่อให้เศรษฐกิจ
ฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี มีดังนี้
  อันดับ 1 รัฐบาลต้องเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น
  อันดับ 2 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการต่างๆ รวมถึงเงินเดือนข้าราชการที่อนุมัติไปแล้ว
  อันดับ 3 กระตุ้นการบริโภค บริหารจัดการสินค้าเกษตรให้เกษตรกรอยู่ได้
 
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2558 เท่ากับ 106.53 ลดลง 1.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
                   ของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 และต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปีนั้น
                   ภาวะดังกล่าวเป็นการเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่

ร้อยละ
 
66.7
ไม่ใช่ภาวะเงินฝืด
21.7
เป็นภาวะเงินฝืด
11.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             2. ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า (อยู่ที่ระดับ 33.773 บาท/ดอลลาร์ ณ วันที่ 2 มิถุนายน) ช่วยสนับสนุน
                   ให้ภาคส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังสามารถขยายตัวเป็นบวกได้หรือไม่

ร้อยละ
 
56.7
เงินบาทที่อ่อนค่าคาดว่าจะช่วยให้การส่งออกขยายตัวเป็นบวกได้ในช่วงครึ่งหลังของปี
35.0
เงินบาทที่อ่อนค่าจะไม่ช่วยให้การส่งออกขยายตัวและคาดว่าการส่งออกยังคงคิดลบเหมือนเดิม
8.3
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             3. ภาพรวมสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะทางการเงินของเกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่)
                   ในช่วงครึ่งหลังของปีจะปรับตัวเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2558

ร้อยละ
 
51.7
ไม่ดีเหมือนเดิม
33.3
ดีขึ้น
8.3
แย่ลง
6.7
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             4. เศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 สถานการณ์น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

ร้อยละ
 
56.7
เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น
33.3
เศรษฐกิจจะยังคงฝืดเคือง
10.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             5. ประเด็นใดทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขหรือดำเนินการ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
                   ในช่วงครึ่งหลังของปี

อันดับ 1
รัฐบาลต้องเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น
อันดับ 2
เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการต่างๆ รวมถึงเงินเดือนข้าราชการ
ที่อนุมัติไปแล้ว
อันดับ 3
กระตุ้นการบริโภค บริหารจัดการสินค้าเกษตรให้เกษตรกรอยู่ได้
อันดับ 4
กระตุ้นการส่งออก รวมถึงดูภาคการท่องเที่ยวให้มีการขยายตัวมากขึ้น
อันดับ 5
อื่นๆ ได้แก่ ลดอุปสรรคด้านการลงทุน กฎระเบียบศุลกากร แก้ปัญหาการผูกขาดทางการค้า
รวมถึงควรจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  สะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปี 2558 ในประเด็น แนวโน้มการส่งออก
ความเป็นอยู่ของเกษตรกร สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงความคิดเห็นต่อภาวะเงินเฟ้อที่ติดลบ เพื่อให้ประชาชน
และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบ และนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ
จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย
บริษัทหลักทรัพย์ภัทร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 3 – 15 มิถุนายน 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 18 มิถุนายน 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
37
61.6
             หน่วยงานภาคเอกชน
16
26.7
             สถาบันการศึกษา
7
11.7
รวม
60
100.0
เพศ:    
             ชาย
35
58.3
             หญิง
25
41.7
รวม
60
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
8
13.4
             36 – 45 ปี
32
53.3
             46 ปีขึ้นไป
20
33.3
รวม
60
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
5.0
             ปริญญาโท
44
73.3
             ปริญญาเอก
13
21.7
รวม
60
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
4
6.7
             6 - 10 ปี
15
25.0
             11 - 15 ปี
15
25.0
             16 - 20 ปี
9
15.0
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
17
28.3
รวม
60
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776